Web Blog การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประกอบการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ (สาระเพิ่ม) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส 22102 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส 23102 ครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา ในการฝึกทักษะเรียนรู้พื้นฐาน การจัดการความรู้ ทักษะภาษาดิจิตอล ทักษะการรู้คิดประดิษฐ์สร้าง ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่มีประสิทธิผล ทักษะการสืบค้น ฯลฯ เพื่อพัฒนาไปสู่ทักษะความรู้ที่มุ่งหวังของหลักสูตร โรงเรียนมาตรฐานสากล 6 ประการ ประกอบด้วย (1) ทักษะการเรียนรู้ Learning Skills (2) ทักษะการคิด Thinking Skills (3) ทักษะการแก้ปัญหา Problerm Skills (4) ทักษะชีวิต Life Skills (5) ทักษะการใช้เทคโนโลยี Technology Skills (6) ทักษะการสื่อสาร Communication Skills ทฤษฎีระบบการเรียน KM (Knowlead Maneagement) โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม (Word Class Standard)

ข่าวการเมือง

"ยิ่งลักษณ์-สมชาย-แกนนำเพื่อไทย" ลงนามถวายพระพรฯ ด้าน "ชวลิต" เผย "ปู" แวะขอพรพระแก้วมรกต ขอให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย-บ้านเมืองกลับมาสู่แนวทางประชาธิปไตยโดยเร็ว นักท่องเที่ยวขอถ่ายรูปคู่เพียบ!

http://www.matichon.co.th/online/2015/09/14418795001441879522l.jpg

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 10 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) และนายชวลิต วิชยสุทธิ์ รักษาการรองเลขาธิการพรรคพท. ได้เดินทางไปยังศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้วยความจงรักภักดี หลังจากที่สำนักพระราชวังได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปถวายพานดอกไม้และลงนามถวายพระพรได้เหมือนปกติ

โดยนายชวลิต กล่าวว่า ระหว่างลงจากรถเพื่อเดินเท้าระยะทาง ประมาณ 100 เมตร ไปยังศาลาสหทัยสมาคม มีนักท่องเที่ยวชาวจีนจำนวนมากเรียกชื่อ"ยิ่งลักษณ์ๆๆๆๆ" ตลอดทาง พร้อมทั้งขอถ่ายรูปด้วยเป็นระยะ ไม่นับชาวต่างชาติอื่นๆและนักท่องเที่ยวไทย ทำเอาน.ส.ยิ่งลักษณ์เหงื่อซึมเต็มใบหน้า แต่หน้าตายังยิ้มแย้มแจ่มใส โดยท่านไม่ได้ปฏิเสธนักท่องเที่ยวรายใดเลย และนับเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่แม้น.ส.ยิ่งลักษณ์จะโดนมรสุมการเมืองกระหน่ำมาตลอดปีเศษแต่ยังเป็นที่ชื่นชมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและชาวไทยอย่างมากมาย

นายชวลิต กล่าวว่า หลังจากนั้นคณะได้เดินทางไปกราบพระแก้วมรกต น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกกับพวกเราว่าช่วยกันอธิษฐานขอให้บ้านเมืองสงบ ทุกภาคส่วนเมตตา ปรารถนาดีต่อกัน สามัคคีกัน ก้าวพ้นความขัดแย้ง บ้านเมืองกลับมาสู่แนวทางประชาธิปไตยโดยเร็ว

นายชวลิต กล่าวด้วยว่า ช่วงนี้ฝนตกบ่อยเห็นใจกรุงเทพมหานคร แต่ขอฝากดูแลเกาะกลางถนนราชดำเนิน เพราะปรากฏว่าไม้ดอก ไม้ประดับและหญ้าทรุดโทรมมาก บางส่วนยืนต้นตายสาเหตุน่าจะมาจากรากเน่าเนื่องจากถนนราชดำเนินอยู่กรุงเทพชั้นใน เป็นหน้าตาของประเทศ จึงขอให้กรุงเทพมหานครให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สัปดาห์ที่ 17

การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์


        คือการวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง

        ความสำคัญนั้นเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่จะเรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเกิดความน่าเชื่อถือได้มากที่สุด

        1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
           1.1 หลักฐานชั้นต้น
           1.2 หลักฐานชั้นรอง

        2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด
           2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
           2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

        3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต
           3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น
           3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ
        1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources
       หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ                                                                                     
        1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources                      
        หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น

2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด

        2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources
   หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์
        2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
   หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ

3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต

        3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface
หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต
        3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น